สมเด็จ​พระ​กนิษฐา​ธิราช​เจ้า​ กรม​สมเด็จพระ​เทพ​รัตน​ราชสุดา​ฯ​
สยาม​บรม​ราช​กุมารี​ เสด็จพระราชดำเนิน​ทรง​เปิด​พระรา​ชานุ​สาว​รีย์​
สมเด็จพระ​เทพศิ​ริน​ทรา​บรม​ราชินี​ และ​ทอดพระเนตร​
กิจ​กรรมการ​เ​รี​ยนการ​สอน ณ โรงเรียน​เทพศิ​รินทร์​ เชียงใหม่

เมนูข้อมูลโรงเรียน

ประวัติความเป็นมา

.

ประวัติความเป็นมา


โรงเรียนเทพศิรินทร์  เชียงใหม่  เดิมชื่อโรงเรียนน้ำบ่อหลวงวิทยาคมได้เริ่มก่อตั้งขึ้นจากคณะสงฆ์  กำนันผู้ใหญ่บ้าน ครู พ่อค้าคหบดี  ในตำบลสันกลาง ตำบลบ้านแม และตำบลยุหว่า  ซึ่งได้มีความเห็นร่วมกันว่า สมควรจัดตั้งโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำตำบลขึ้นโดยใช้พื้นที่สาธารณะหน้า วัดวนารามน้ำบ่อหลวง หมู่ที่ 5 ตำบลสันกลาง (หมู่ที่ 2 ตำบลน้ำบ่อหลวงในปัจจุบัน)  โดยได้เสนอผ่านอำเภอสันป่าตอง    ตามหนังสือที่   ชม.61/4520  ลงวันที่ 13 พฤศจิกายน  2521 และกรมสามัญศึกษาได้ประกาศให้ตั้งโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำตำบลขึ้น  ใช้ชื่อ " โรงเรียนน้ำบ่อหลวงวิทยาคม " ลงวันที่ 12 กุมภาพันธ์2522  และได้เริ่มก่อสร้างอาคารเรียนชั่วคราว 2 หลัง  และห้องส้วม  ขนาด 3 ที่นั่งโดยได้รับบริจาคจากประชาชนในท้องที่ 3 ตำบล มีนายโสภา  สุวรรณศรีคำ ศึกษาธิการอำเภอในขณะนั้น  รักษาราชการแทน    ในตำแหน่งครูใหญ่   ต่อมากรมสามัญศึกษาได้ส่งนายองอาจ  เจริญเวช มาเป็นครูใหญ่  มีครู 5 คนเปิดสอน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีนักเรียนรุ่นแรก 45 คน  ต่อมาในปี 2530 ได้รับคัดเลือกเข้าในโครงการ   มพช.2 รุ่นที่ 2  จึงได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียน  โรงฝึกงาน  และปรับปรุงบริเวณ   โรงเรียนน้ำบ่อหลวงวิทยาคมได้รับการรับรองเป็นโรงเรียนต้นแบบโรงเรียนในฝันในปี พ.ศ. 2548  ปัจจุบันเปิดสอนในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึง ปีที่ 6   เข้าร่วมเครือข่ายโรงเรียนเทพศิรินทร์  ในปีการศึกษา 2550 โดยได้รับความเห็นชอบและสนับสนุน   จากคณะกรรมการโรงเรียนเทพศิรินทร์  และสมาคมนักเรียนเก่าเทพศิรินทร์   ในพระบรมราชูปถัมภ์   โรงเรียนเทพศิรินทร์  เชียงใหม่   เป็นโรงเรียนเครือข่าย ลำดับที่ 8 โดยเริ่มนับจาก 
ลำดับที่ 1               โรงเรียนเทพศิรินทร์
ลำดับที่ 2               โรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้า
ลำดับที่ 3               โรงเรียนเทพศิรินทร์คลองสิบสาม  ปทุมธานี
ลำดับที่ 4               โรงเรียนเทพศิรินทร์  นนทบุรี
ลำดับที่ 5               โรงเรียนเทพศิรินทร์  พุแค สระบุรี
ลำดับที่ 6               โรงเรียนเทพศิรินทร์ลาดหญ้า  กาญจนบุรี
ลำดับที่ 7               โรงเรียนเทพศิรินทร์  ขอนแก่น
ลำดับที่ 8               โรงเรียนเทพศิรินทร์  เชียงใหม่
ลำดับที่ 9                โรงเรียนเทพศิรินทร์ ๙ ในพระบรมราชูปถัมภ์
ลำดับที่ 10              โรงเรียนเทพศิรินทร์  สมุทรปราการ
ลำดับที่ 11              โรงเรียนเทพศิรินมร์ ชลบุรี

ปรัชญา
น  สิยา  โลกวฑฺฒโน  ไม่ควรเป็นคนรกโลก
คติพจน์
สามัคคี    มีวินัย   ใฝ่เรียนรู้   เชิดชูคุณธรรม
 
ปณิธาน
สังคมแห่งการเรียนรู้ ผลสัมฤทธิ์ดี มีคุณลักษณะพึงประสงค์ คุณภาพการศึกษาได้มาตรฐาน
วิสัยทัศน์
ภายในปี  2556  โรงเรียนเทพศิรินทร์ เชียงใหม่ เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ส่งผลให้ผู้เรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานระดับสากล
 
อัตลักษณ์
นักวิจัยบูรณาการ
เอกลักษณ์
องค์กรแห่งการเรียนรู้
 
ปฏิญญา
โรงเรียนเทพศิรินทร์  เชียงใหม่  มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นสุภาพบุรุษ สุภาพสตรี  มีวิสัยทัศน์ไกล  ใจกว้าง ร่างสมาร์ท มารยาทงาม
พันธกิจ
               1.  ส่งเสริมการจัดการศึกษาคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาระดับสากล  และพัฒนาผู้เรียนเต็มศักยภาพมีทักษะชีวิต
                    พัฒนาภาษาได้สร้างสรรค์
               2.  พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์   เพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย  จิตใจ  สติปัญญา    ความรู้และคุณธรรม  มีจริยธรรม  และวัฒนธรรมไทยในการดำรงชีวิต  สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข  บนพื้นฐาน    ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
              3.  ส่งเสริมพัฒนาครูให้เป็นครูมืออาชีพจัดการเรียนรู้บูรณาการ   พัฒนาทักษะกระบวนการคิด   บูรณาการแบบองค์รวม ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  และมีทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
              4.  ส่งเสริมระบบบริหารจัดการ  พัฒนาประกันคุณภาพภายในโดยมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของบุคลากรและมีส่วนเกี่ยวข้อง
              5.  ส่งเสริมเครือข่ายความร่วมมือในการจัดระดมทรัพยากร แหล่งเรียนรู้   แหล่งวิทยากร  ทั้งภาครัฐ  เอกชน  และผู้เกี่ยวข้อง   เพื่อพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
ที่มาของโรงเรียนเทพศิรินทร์
ในปี พ.ศ. 2419 องค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระชนมายุครบเบญจเพส จึงมีพระราชดำริที่จะสร้างพระอารามเพื่อทรงอุทิศพระราชกุศลถวายสนองพระเดชคุณแด่องค์พระราชชนนี คือ สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาวัดเทพศิรินทราวาสขึ้น
โรงเรียน เทพศิรินทร์ ได้รับการสถาปนาจาก องค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2428 ด้วยพระราชปรารภที่จะทำนุบำรุงการศึกษาเล่าเรียนให้เจริญแพร่หลายขึ้นโดยรวด เร็วจึงมีพระบรมราชโองการให้จัดการศึกษาสำหรับราษฎรขึ้น โดยพระเจ้าน้องยาเธอพระองค์เจ้าดิศวรกุมาร (กรมพระยาดำรงราชานุภาพ) ได้จัดตั้งโรงเรียนปริยัติธรรมบาลี ขึ้นภายใน วัดเทพศิรินทราวาส โดย ในช่วงแรกของการจัดตั้งโรงเรียนนั้น โรงเรียนเทพศิรินทร์ได้อาศัยศาลาการเปรียญภายในวัดเทพศิรินทราวาสเป็นที่ทำ การเรียนการสอนครั้นถึง พ.ศ. 2438 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ได้ทรงดำริที่จะสร้างตึกเรียนสำหรับวัดเทพศิรินทราวาสขึ้น เพื่ออุทิศพระกุศล สนองพระเดชพระคุณแห่งองค์ สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี พระชนนี และเพื่ออุทิศพระกุศลแก่ หม่อมแม้น ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา ชายาของพระองค์ ตึกเรียนหลังแรกนี้ได้รับการออกแบบให้มีศิลปะเป็นแบบโกธิคซึ่งถือว่าเป็นอาคารศิลปะโกธิคยุคแรกและมีที่เดียวในประเทศไทยโดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าจิตรเจริญ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์เป็นผู้ออกแบบ และในการนี้ พระยาโชฏึกราชเศรษฐี ได้บริจาคทุนทรัพย์เพื่อสร้างตึกอาคารเรียนขึ้นด้านข้างของตึกเรียนหลังแรกอีกด้วย

ตราประจำโรงเรียนเทพศิรินทร์

 
ภาพอาทิตย์อุทัยทอแสงบนพื้นน้ำทะเล หมายถึง “ภาณุรังษี” และ “วังบูรพาภิรมย์” โดย “ภาณุรังษี” นี้เป็นพระนามของสมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ผู้ทรงประทานตรานี้ให้แก่โรงเรียนเมื่อปี พ.ศ. 2467 พระองค์มีพระคุณอเนกอนันต์แก่โรงเรียน อาทิทรงเป็นผู้ทูลขอให้ทรงสถาปนาโรงเรียนต่อองค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปี พ.ศ. 2548 ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นการสถาปนาโรงเรียนแบบถาวรและทรงถือว่าโรงเรียนนี้เป็นโรงเรียนในดูแลของพระองค์ด้วยอักษรประดิษฐ์ “ม” หมายถึง “หม่อมแม้น ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา” ชายาอันเป็นที่รักของสมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช เพื่อเป็นอนุสาวรีย์ที่ระลึกถึงหม่อมแม้น ว่าถ้าไม่มีหม่อนแม้น การกำเนิด ตึกแม้นนฤมิตร ก็คงไม่มี ดังนั้นโรงเรียนเทพศิรินทร์ก็คงไม่มี จึงเป็นความหมายที่ควรระลึกไว้ช่อดอกรำเพย หมายถึง พระนามแห่งองค์สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้ารำเพยภมราภิรมย์” พระบรมราชชนนีของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ซึ่งทั้งสองพระองค์ทรงสร้างพระอารามและโรงเรียนเพื่อเป็นพระราชกุศลแด่พระ บรมราชชนนี ทำเครื่องหมายดอกรำเพยไว้เพื่อให้คนรุ่นหลัง รู้ไว้ว่าพระนามเทพศิรินทร์นี้ได้มาจากพระองค์ท่าน เป็นพระนามมหามงคลยิ่งควรรักษาไว้ให้ดีสีประจำโรงเรียน คือ “สีเขียวและสีเหลือง” เป็นสีประจำวันพฤหัสบดี ตามตำราพิชัยสงคราม (สวัสดิรักษา) ซึ่งวันพฤหัสบดีนั้นเป็นวันประสูติของสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี ในรัชกาลที่ 4 อีกทั้งยังเป็นสีของใบและดอกของต้นรำเพย ซึ่งเป็นพระนามเดิมของสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี คือ “พระองค์เจ้ารำเพยภมราภิรมย์”
ดอกรำเพย จึงถือเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของโรงเรียนเทพศิรินทร์
พุทธสุภาษิตประจำโรงเรียน “น สิยา โลกวฑฺฒโน” ความหมายคือ “ไม่ควรเป็นคนรกโลก”
 


บทร้องประจำโรงเรียน

อโหกุมารสถานสิขา
ณ เทพศิรินทร์ระบิลระบือ
สำเนียงจำโนษอุโฆษก็คือ
ดรุณสยามมิคร้ามวิชาฯ
สมัญญะเลิศจะเกิดไฉน
จะเกิด ณ เมื่ออะเคื้อสิขา
จะเกิด ณ คราวอะคร้าววิชา
วิปักษะขามสยามวิชัยฯ
วิถีสำรวย บ่ งวย บ่ งง
วิถีสำเริง บ่ เหลิงหทัย
วิถีสำราญ บ่ ซานจะไป
วิถีอบาย บ่ หมายจำนงฯ
วิชาวิบุลย์ดรุณจะเรียน
ประเกียรติ์จะเกิดประเสริฐประสงค์
ประเทศจะงามสยามจะยง
จะสุดวิเศษก็เหตุเพราะเพียรฯ
อโหดรุณจะครุ่นสิขา
อโหกุมารจะอ่านจะเขียน
วิชาจะเทียบจะเปรียบวิเชียร
วิเชียรก็ชู บ่สู้วิชาฯ
วิชา ฤ แล้ง ณ แหล่งสยาม
หทัยะทัยจะไตรจะตรา
หทัยะทัยจะใฝ่วิชา
วิชา ฤ แล้ง ณ แหล่งสยาม
ณ เทพศิรินทร์ ณ เทพศิรินทร์
สถานสิขาสง่าพระนาม
สำนักกิฬาสง่าสนาม
ณ เทพศิรินทร์ ณ เทพศิรินทร์
ชโย ชโย ชโย

 
 
 
โรงเรียนเทพศิรินทร์ เชียงใหม่
248 หมู่2 ตำบลน้ำบ่อหลวง อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ 50120
โทร. 052-000185
โทรสาร. 052-000185
เว็บไซต์. school@dsc.ac.th
Copyright © 2012. Debsirin Chiang Mai School. Allright reserved.